วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กลอนวาเลนไทน์

ที่มาของหมีแพนด้า

วันนี้ หมีนรก จะมาเล่าความเป็นมาของแพนด้ากันหน่อย

แพนด้ายักษ์ หรือไจแอนท์แพนด้า (Ailuropoda melanoleuca) คนไทยนิยมเรียกหมีแพนด้า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์หมี(Ursidae) ถิ่นอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน อาหาร โปรดของแพนด้ายักษ์คือไผ่ นอกนั้นจะเป็นหญ้าชนิดอื่น ๆ ลักษณะเฉพาะของแพนด้ายักษ์คือมีขนสีดำรอบดวงตา, ใบหู, บ่า และขาทั้งสี่ข้าง ส่วนอื่นประกอบด้วยขนสีขาว


ปัจจุบันแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสัตว์สายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งของโลก ตามรายงานล่าสุ มี แพนด้าที่เลี้ยงในกรงเลี้ยง 239 ตัวอยู่ในจีน และอีก 27 ตัวอยู่ในต่างประเทศ มีการคาดการณ์ไว้ว่ามีแพนด้ายักษ์ประมาณ 1,590 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ดี จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2549 ผ่านการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ สามารถประมาณการได้ว่าอาจจะมีแพนด้ายักษ์เป็น จำนวนถึง 2,000-3,000 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนแพนด้าตามธรรมชาติเพิ่มจำนวนขึ้น สหภาพ นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติเชื่อว่าข้อมูลดัง กล่าวยังไม่มีความแน่นอนพอที่จะย้ายชื่อแพนด้ายักษ์ออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์ ที่ใกล้สูญพันธุ์

 แพนด้ายักษ์ เป็นที่รู้จักในตะวันตกเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2412 โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสอาร์มันด์ เดวิด ผู้ซึ่งได้รับหนังของแพนด้ามาจากนายพรานเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2412 ส่วนชาวตะวันตกคนแรกที่เป็นที่รู้จักว่าเห็นแพนด้ายักษ์ที่ยังมีชีวิต คือนักสัตว์วิทยาเยอรมัน ฮิวโก เวยโกลด์ เขาซื้อลูกของมันมาในปี พ.ศ. 2459 เคอร์มิท และ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ จูเนียร์ ได้เป็นชาวต่างชาติแรก ที่ยิงแพนด้าในการเดินทางศึกษาที่ประเทศจีน เพื่อนำไปสตัฟฟ์และใช้ในการศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ฟิลด์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ในปี พ.ศ. 2479 รุธ ฮาร์คเนส เป็นชาวตะวันตกคนแรก ที่นำเข้าแพนด้ายักษ์ที่มีชีวิตมายังสหรัฐฯ เป็นลูกแพนด้าชื่อซู-ลิน โดยนำมาเลี้ยงที่สวนสัตว์บรูคฟิลด์ในชิคาโก

แพนด้า ยักษ์ถือเป็นสัญลักษณ์ทางการทูตอย่างหนึ่งของจีน จะเห็นได้ว่าจีนส่งหมีแพนด้าไปยังสวนสัตว์สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น ในช่วง คริสต์ทศวรรษ 1970 โดยการให้ยืม ซึ่งเป็นเครื่องหมายการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและชาติตะวันตก การปฏิบัติเป็นธรรมเนียมเช่นนี้ทำให้มีคนเรียกแพนด้าว่า "ทูตสันถวไมตรี"

อย่าง ไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ไม่มีการใช้หมีแพนด้าในฐานะทูตสันถวไมตรีอีกต่อไป แต่จีนมีการเสนอที่จะส่งแพนด้ายักษ์ไปยังชาติอื่นโดยให้ยืมเป็นเวลา 10 ปี โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมพื้นฐานปีละ 1,000,000 เหรียญสหรัฐ และมีข้อกำหนดว่าลูกของแพนด้ายักษ์ใด ๆ ที่เกิดระหว่างการยืมนั้น ถือเป็นทรัพย์สินของสาธารณรัฐประชาชนจีน

แพนด้า ยักษ์มีถิ่นอาศัยอยู่ตามพื้นที่ภูเขา เช่น มณฑลเสฉวน ซานซี กานซูและทิเบต แพนด้ายักษ์เป็นสัญลักษณ์ของกองทุน สัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund:WWF) องค์กรด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ตั้งแต่ช่วงหลังของศตวรรษที่ 20 แพนด้าได้กลายเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศจีน และรูปภาพของมันได้อยู่บนเหรียญทองของจีน ถึง แม้พวกมันจะจัดอยู่ในวงศ์ของหมี แต่พฤติกรรมการกินของมันแตกต่างจากหมีโดยสิ้นเชิง แพนด้าเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร โดย 99% ของอาหารที่มันกินคือไผ่ แต่บางทีอาจพบว่ามันก็กินไข่ ปลา และแมลงบางชนิดในไม้ไผ่ที่มันกิน นี่เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ
 
เปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆ กับ Panda ของปลอม กับ Pungda ของแท้

... งงแล้วล่ะสิ ว่าข้างไหนจริงข้างไหนปลอม


หลาย สิบปีที่ผ่านมา การจัดจำแนกสายพันธุ์ที่แน่นอนของแพนด้ายังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงซึ่งเป็นญาติสายพันธุ์ห่าง ๆ กัน และยังมีลักษณะพิเศษที่เหมือนทั้งหมีและแรคคูน อย่างไรก็ตาม การทดลองทางพันธุกรรมบ่งบอกว่าแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของหมี (วงศ์ Ursidae) หมีที่สายพันธุ์ใกล้เคียงที่สุดของแพนด้าคือหมีแว่นของอเมริกาใต้ (ข้อขัด แย้งที่ยังคงเป็นที่สงสัยอยู่คือแพนด้าแดงนั้นอยู่ในวงศ์ใด เป็นที่ถกเถียงว่าอาจจะอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae), วงศ์แรคคูน, วงศ์โพรไซโอนิเด (Procyonidae), หรืออยู่ในวงศ์เฉพาะของมันเอง ไอเลอริเด (Ailuridae))

แพนด้า เป็นสัตว์สปีชีส์ที่ถูกคุกคามหรืออยู่ในอันตรายต่อการสูญพันธ์ ทั้งนี้มาจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่จากการบุกรุกของมนุษย์ อัตราการเกิดต่ำทั้งในป่าและในกรงเลี้ยง เชื่อว่ามีแพนด้ายักษ์เพียง 1,600 ตัว อาศัยอยู่รอดในป่า

หมีแพนด้ามีอุ้งตีนที่ผิดจากธรรมดา คือมีนิ้วหัวแม่มือ และมีนิ้วอีก 5 นิ้ว นิ้วหัวแม่มือที่จริงแล้วมาจากการปรับปรุงรูปแบบของกระดูกข้อต่อ สตีเฟน เจย์ กาวลด์ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ โดยมีชื่อเรื่องว่า The Panda's Thumb หรือ นิ้วหัวแม่มือของแพนด้า หางของแพนด้ายักษ์นั้นสั้นมาก โดยมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร

กลอนโดนๆของคนอกหัก

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตำนานเล่าเรื่อง
ประเพณีลอยกระทงนั้นมีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมา
แม่พระคงคา เป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น การลอยกระทงนิยมทำกันในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุก ๆ ปี อันเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำลำคลองขึ้นสูงและ
อากาศเริ่มเย็นลง ตามพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน และตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทงสำหรับลอยประทีป
เป็นรูปดอกบัวบานขึ้น ซึ่งคนทั่วไปนิยมทำตามสืบต่อมา นอกจากนั้นในศิลาจารึกหลักที่ 1 ยังได้กล่าวถึงงานเผาเทียน
เล่นไฟ ของกรุงสุโขทัยไว้ด้วยว่า เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้ผู้รู้ทั้งหลายสันนิษฐานต้องตรงกันว่า งานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน


จุดเด่นของพิธีกรรม
การลอยกระทงเป็นนักขัตฤกษ์รื่นเริงของคนทั่วไป เมื่อเป็นพิธีหลวง เรียก " พระราชพิธีจองเปรียง
ลดชุดลอยโคมส่งน้ำ" ต่อมาเรียก "ลอยพระประทีป" พิธีนี้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยดัง ปรากฏหลักฐานอยู่ใน
หนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ และได้กระทำต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดจนถึงสมัยกร ุงรัตนโกสินทร์
พิธีลอยกระทงเดิมทำกันในวันเพ็ญเดือน11 และวันเพ็ญเดือน12 ปัจจุบันพิธีลอยกระทงเฉพาะวันเพ็ญเดือน12
พิธีลอยกระทง สันนิษฐานว่าได้มาจากอินเดีย ตามลักธิพราหมณ์เชื่อว่า ลอยกระทงเพื่อบูชาแม่น้ำคงคง
อันศักค์สิทธิ์ของอินเดีย และลอยเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้า คือ พระนารายณ์ ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่กลางเกษียรสมุทร
อีกประการหนึ่ง ศาสนาพุทธเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการทำพิธีเพื่อต้อน รับพระพุทธเจ้าในวันเสด็จจากเทวโลก
สู่โลกมนุษย์ ภายหลังจากทรงเทศนาโปรด พุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บ้างก็เชื่อว่าเพื่อบูชา
พระบรมสารีริกธาตุ ที่บรรจุไว้ในพระจุฬามณี พระเจดีย์บนสวรรค์ บางก็ว่าเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ทรง
ประทับไว้ ณ หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมหานทีในแคว้นทักขิณาบถ ของประเทศอินเดีย (ปัจจุบันเรียกว่า
แม่น้ำเนรพุททา) บางท่านก็ว่า ลอยกระทงเพื่อขอบคุณพระแม่คงคาที่ให้เราได้อาศัยน้ำก ินน้ำใช้ และขออภัย
พระแม่คงคา ที่ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงในน้ำ เมื่อถึงวันเพ็ญ เดือน 12 ประชาชนจะจัดทำกระทงเป็นรูปต่าง ๆ
ด้วยใบตอง หรือกาบใบต้นพลับพลึง หรือวัสดุอื่น ๆ ประดับตกแต่งกระทงให้สวยงามด้วยดอกไม้สดในกระทง
จะปักธูปเทียน บางทีก็ใส่สตางค์ หรือหมากพลูลงไปด้วยสมัยก่อนในพิธีลอยกระทงมีการเล่น สักวาเล่นเพลงเรือ
และมีแสดง มหรสพประกอบงานมีการประกวด นางนพมาศ ประกวด กระทงและร่วมกันลอยกระทง โดยจุด
ธูปเทียน กล่าวอธิษฐานตามที่ใจปรารถนาและปล่อยกระทงให้ลอยไปตา มน้ำ


จุดมุ่งหมายของการลอยกระทง
ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตั้งแต่ครั้งโบราณ สรุปได้ 3 ประการ คือ
1. เชื่อว่าเป็นการบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวิธีหน ึ่งโดยใช้น้ำที่ไหลไปเป็นพาหนะนำกระทง
ดอกไม้ธูปเทียนไปสักการะพระองค์ท่านโดยจินตนาการประก อบกับเป็นช่วงฤดูน้ำหลากพระจันทร์
เต็มดวงในคืนวันเพ็ญเป็นบรรยากาศที่ทำให้คนในสมัยก่อ นซึ่งยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น เกิดความสุขสงบเป็นพิเศษจึงได้จัดพิธีบูชาพระพุทธคุณ ด้วยกระทงดอกไม้ธูปเทียนพร้อมกับงานรื่นเริงอื่น ๆ
2.เชื่อว่าเป็นการลอยความทุกข์โศกของตนที่มีอยู่ให้อ อกไปจากตัวกับสายน้ำที่ไหลไปนั้นพร้อม
กับตั้งจิตอธิษฐานขอพรกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ตนและคร อบครัวได้รับแต่สิ่งที่ดี
3.เชื่อว่าเป็นการขอขมาต่อน้ำโดยเฉพาะแม่น้ำลำคลองซึ ่งมีคุณอย่างอเนกอนันต์ต่อคนสมัยก่อน ทั้งเรื่องใช้อาบชะล้างสิ่งต่างๆประจำวันรวมทั้งการเ พาะปลูกการคมนาคมถือว่าเป็นการกระทำล่วง
เกินให้น้ำสกปรกจึงได้ทำพิธีขอขมาอย่างเป็นพิธีการอย ่างน้อยปีละครั้ง


ความหมาย
ลอยกระทง หมายถึง ประเพณีบูชารอยพระพุทธบาท แสดงความ สำนึกบุญคุณของแหล่งน้ำอันมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิ ตและเป็นการ การบูชาพระแม่คงคาเทวีตามความเชื่อแต่โบราณด้วยกระทง ดอกไม้ธูป เทียน ประกอบกับสิ่งประดิษฐ์จากธรรมชาติที่ลอยน้ำได้

ประวัติวันวาเลนไทน์

ประวัติวันวาเลนไทน์
    วันวาเลนไทน์ (Valentine'sDay) วันนักบุญวาเลนไทน์ (Saint Valentine's Day) หรือที่รู้จักกันว่า วันแห่งความรัก ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น วันประเพณีที่คู่รักบอกให้กันและกันทราบเกี่ยวกับความรักของพวกเขา โดยการส่งการ์ดวาเลนไทน์ มอบของขวัญวาเลนไทน์ หรือพาคนรักไปท่องเที่ยวในสถานที่โรแมนติก ซึ่งต่อมาวันวาเลนไทน์ ก็ได้นิยมแพร่หลายไปทั่วยุโรปและอเมริกา และเข้ามาในทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย

    วันนี้เริ่มเกี่ยวข้องกับความรักแบบชู้สาวในช่วงยุค High Middle Ages เมื่อประเพณีความรักแบบช่างเอาใจ (courtly love) แผ่ขยายก่อนคริสตศักราช 269 ปี

    ในสมัยนั้นเขาไม่นิยมให้แต่งงานกันในโบสถ์ แต่เซนต์วาเลนไทน์กลับให้คนภายนอกเข้ามาแต่งงานได้ซึ่งประเพณีรักแบบนี้มัก จะถูกต่อต้าน แต่เซนต์วาเลนไทน์กลับให้คนรักกันแบบนี้ได้ จากนั้นเซนต์วาเลนไทน์ถูกพวกโรมันจับตัวส่งไปขังและเขาก็ได้พบรักกับสาว ตาบอดในคุก เมื่อฝ่ายที่ว่ามานี้รู้ข่าวเข้าจึงนำเซนต์วาเลนไทน์ไปประหารวันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันนี้จึงเป็นวันวาเลนไทน์นั่นเอง

ความเป็นมาวันวาเลนไทน์
    วันวาเลนไทน์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia

    การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณีอย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็กๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรัก กันและแต่งงานกันในที่สุด

    ภาย ใต้การปกครองของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) นั้น กรุงโรมได้เกิดสงครามหลายครั้ง และคลอดิอุสเองก็ประสบกับปัญหาในการที่จะหาทหารจำนวนมากมายมหาศาลมาเข้าร่วม ในศึกสงคราม และเขาเชื่อว่าเหตุผลสำคัญก็คือ ผู้ชายโรมันหลายคนไม่ต้องการจากครอบครัว และคนอันเป็นที่รักไป และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้จักรพรรดิคลอดิอุสประกาศให้ยกเลิกงานแต่งงาน และงานหมั้นทั้งหมดในกรุงโรม

    ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีนักบุญผู้ใจดีคนหนึ่งซึ่งชื่อว่า ท่านนักบุญวาเลนไทน์ ท่านเป็นพระที่กรุงโรมในสมัยของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ท่านนักบุญวาเลนไทน์และนักบุญมาริอุส ได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรเล็กๆ เพื่อช่วยเหลือชาวคริสเตียนที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านี้ และได้จัดให้มีการแต่งงานของคู่รักอย่างลับๆ ด้วย

    และ จากการกระทำเหล่านี้เอง ทำให้นักบุญวาเลนไทน์ถูกจับและถูกตัดสินประหารโดยการตัดศรีษะ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณปีคริสต์ศักราชที่ 270 ซึ่งถือเป็นวันที่ท่านได้ทนทุกข์ทรมานและเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์



ประวัติท่านนักบุญวาเลนไทน์
    เซนต์วาเลนไทน์ หรือนักบุญวาเลนไทน์นั้นเป็นพระที่อยู่ในกรุงโรมระหว่างศตวรรษที่ 3 ในเวลานั้นกรุงโรมถูกปกครองโดยจักรพรรดิที่ชื่อว่า "คลอดิอุส" ซึ่งมีนิสัยชอบข่มเหงผู้อื่น ทำให้ไม่เป็นที่รักของประชาชนเท่าใดนัก จักรพรรดิคลอดิอุสต้องการสร้างกองทัพอันยิ่งใหญ่ และหวังให้ชายชาวโรมันทั้งหลายอาสาสมัครเข้ามาเป็นทหารในการสงคราม แต่ก็ไม่มีชายคนใดจะกระทำตามนั้น จักรพรรดิคลอดิอุสจึงออกกฏหมายห้ามให้มีการแต่งงานหรืองานหมั้นใดๆ เกิดขึ้น ทำให้ประชาชนไม่พอใจรวมทั้งนักบุญวาเลนไทน์เองด้วย

    ในเวลาต่อมานักบุญวาเลนไทน์ได้จัดการแต่งงานให้กับคู่หญิงสาวหลายคู่ขึ้น อย่างลับๆ ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศการใช้กฏหมายห้ามแต่งงานแล้วก็ตาม นักบุญวาเลนไทน์ยังคงรักที่จะทำพิธีเหล่านี้ โดยภายในงานนั้นจะมีเพียงเจ้าบ่าว เจ้าสาว และท่านนักบุญเท่านั้น พวกเขาจะกระซิบคำสาบานและคำอธิษฐานต่อกัน ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยเงี่ยหูฟังเสียงการเดินตรวจตราของเหล่าทหารด้วย

    แต่แล้วคืนหนึ่ง ในขณะที่กำลังทำพิธีแต่งงานอย่างลับๆ อยู่นั้นเอง ท่านนักบุญวาเลนไทน์เกิดได้ยินเสียงผีเท้าของทหาร แต่โชคดีที่คู่บ่าวสาวนั้นหนีออกไปจากโบสถ์ได้ทัน ในที่สุดนักบุญวาเลนไทน์จึงถูกจับขังคุกและถูกทรมานอย่างแสนสาหัส ท่านพยายามให้กำลังใจตัวเองทุกๆ วัน

    และ แล้ววันหนึ่งสิ่งวิเศษก็เกิดขึ้น เด็กหนุ่มสาวหลายคนมาที่คุกเพื่อจะมาเยี่ยมท่านนักบุญ พวกเขาโยนดอกไม้และกระดาษซึ่งเขียนข้อความต่างๆ เข้าไปทางช่องหน้าต่างของคุก พวกเขาต้องการให้นักบุญวาเลนไทน์รู้ว่า พวกเขาเองก็มีความเชื่อและศรัทธาในความรักด้วยเช่นกัน

    หนึ่งในเด็กสาวเหล่านั้น เป็นลูกสาวของผู้คุม ซึ่งพ่อของเธอได้อนุญาตให้เธอเข้าไปเยี่ยมนักบุญวาเลนไทน์ได้ในคุก บางครั้งพวกเขาจะนั่งคุยกันนานนับชั่วโมง หล่อนช่วยให้กำลังใจท่านนักบุญ และเห็นด้วยกับการที่ท่านปฏิเสธกฏหมายห้ามการแต่งงานนั้น อีกทั้งยังสนับสนุนการแต่งงานอย่างลับๆ ของท่านนักบุญอีกด้วย

    ในวันที่นักบุญวาเลนไทน์เสียชีวิตนั้น ท่านได้เขียนจดหมายไว้ฉบับนึงเพื่อเป็นการขอบคุณในมิตรภาพและความจงรักภักดี ของหญิงสาวผู้นั้น แล้วท่านนักบุญก็ลงท้ายจดหมายฉบับนั้นว่า " Love from your Valentine. "

    ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงมีประเพณีการแลกเปลี่ยนจดหมายรักซึ่งกันและกันในวันวาเลนไทน์ โดยจะเขียนขึ้นในวันที่นักบุญวาเลนไทน์เสียชีวิต คือวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปีคริสตศักราช 270 และปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านนักบุญวาเลนไทน์ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของวันนี้คือ การมอบความรักและมิตรภาพให้แก่กันและกัน

    และทุกๆ ครั้งที่ผู้คนต่างนึกถึงจักรพรรดิคลอดิอุส เขาก็จะจำได้ถึงวิธีการที่คลอดิอุสพยายามจะมาแทนที่หนทางของความรัก แล้วก็จะพากันหัวเราะ เพราะว่าพวกเขาต่างรู้ดีว่าความรักนั้นไม่สามารถหาสิ่งใดมาทดแทนหรือแทนที่ ได้เลย



สัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์
    เทพเจ้าคิวปิด ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรักดั้งเดิมของชาวโรมันในรูปเด็กทารกติดปีก กำลังโก่งคันศรทองเล็งไปยัง หัวใจของผู้คน ตามตำนานของกรีกและโรมันพูดถึงคิวปิดว่า เป็นบุตรของมาร์ (เทพเจ้าของสงคราม) และ วีนัส (เทพเจ้าแห่งความรักและความงาม)

    วีนัสอิจฉา "ไซกี" ธิดาของกษัตริย์องค์หนึ่ง ที่กำลังแรกรุ่นและสวยกว่าวีนัสมาก นางเลยส่งคิวปิดไปหาไซกี เพื่อบันดาลให้ไซกีมีความรักกับบุรุษเพศ แต่คิวปิดแอบหลงรักไซกีและพามาที่วัง และแอบมาหาในตอนกลางคืน เพื่อไม่ให้ไซกีรู้ว่าตนเองเป็นใคร แต่มีคนอิจฉายุให้ไซกีแอบดูตอนคิวปิดนอนหลับ

    ด้วยความตื่นเต้นที่เห็นคิวปิดเป็นหนุ่มรูปงามแลยเผลอทำน้ำมันตะเกียงหกใส่ คิวปิด เมื่อคิวปิดตื่นขึ้นก็โกรธมากที่นางขัดคำสั่งจึงทิ้งนางไป เมื่อโดนทิ้งไปไซกีก็ออกตามหาคิวปิด ซึ่งตลอดเวลาไซกีถูกนางวีนัสกลั่นแกล้งต่างๆ นานา จนคิวปิดต้องเข้ามาช่วย เทพเจ้าจูปิเตอร์เห็นใจช่วยให้ทั้งสองครองรักกัน

คำว่า "Valentine" มีความหมายแยกตามตัวอักษร ได้ดังนี้

V คือ VERITY ความจริงที่มีอยู่ ซึ่งความจริงแล้วถ้าความจริงสิ่งที่เป็นอยู่ของคุณและเธอ หรือเขาที่มีต่อกันแล้ว ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเข้าใจก็จะมีเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณทีเดียว ในโลกนี้มีสิ่งที่รู้อยู่เพียง 4 อย่างเท่านั้น คือ คุณรู้ เขาไม่รู้ คุณไม่รู้ เขารู้ คุณรู้ เขารู้ คุณไม่รู้ เขาก็ไม่รู้ ถ้าหากคุณบอกสิ่งที่คุณรู้และเขาไม่รู้ หรือคุณไม่รู้เขาบอกให้คุณรู้ ความรู้นั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่เปิดเผย จะบอกเขาว่ารัก ก็รีบๆ บอกเสียในวันนี้ อย่าบอกว่า การกระทำก็บอกอยู่แล้ว สายตาก็บอกอยู่แล้ว บอกให้ชัดๆ เสียว่า "รักคุณ"

A คือ AMBITION เป็นความปรารถนาดีอย่างแรงกล้า คุณจะรัก จะชอบ จะจีบใคร คุณควรมีความปรารถนาอย่างสูง มิใช่เห็นเขาส่งการ์ดให้ ส่งดอกไม้ให้ พาเขาไปฉลองสนุกๆ เท่านั้น คุณควรมีความปรารถนาในความรักอย่างจริงจังมิใช่ทำไปเพื่อตามแฟชั่น หรือเพื่อนพ้องลากไป หรือชวนให้ทำ ไปสรรหาการ์ดสวยๆ สั่งดอกกุหลาบสีแดงสดสวยๆ ไว้ล่วงหน้า พยายามทำด้วยความปรารถนาดีที่มีไฟอยู่ในใจนะ

L คือ LENIENT ความผ่อนปรน ความปรานี คุณและเขาหรือเธอควรจะมีการผ่อนปรน หรือสิ่งที่ละทิ้งได้ก็ควรจะละทิ้งไป อย่าเก็บมาใส่ใจให้เป็นขยะในใจ หรือรอยมลทินใจ อย่าคิดอะไรเก่าๆ สมัยนี้ควรที่จะคิด จะนึกได้นะว่า บางอย่างก็ทิ้งๆ ไป เสีย อย่านำมาคิด มีความปรานี เมตตาหรือความรัก ความปรารถนาดีกว่า

E คือ EQUALITY ความเสมอภาค ความทัดเทียมกันในสมัยปัจจุบัน คู่รักหรือคนรักกัน ควรจะมีความเท่าเทียมกันมิใช่อยู่ในสมัยบรรจงกราบเช้า กราบเย็น นอนทีหลังตื่นก่อนแล้ว เราต้องก้าวไปด้วยกัน ด้วยความมุ่งมั่นในอนาคต ด้วยความเสมอภาค แต่เราก็คิดเสมอว่าเคียงข้างไปด้วยกัน ขนานกันดีกว่าที่จะมาจูงกัน ก้าวไปด้วยความรักที่มีเท่าเทียมกัน เขามอบอะไรให้เรา เราก็ควรจะตอบแทนให้เขาเท่าๆ กัน พอๆ กัน มิใช่เอารัดเอาเปรียบเขา เขามาแสดงความรัก ความยินดี ด้วยกุหลาบช่อใหญ่ แต่เราให้เขาเพียงดอกเดียว ดูเป็นการเอาเปรียบกันเกินไป จริงอยู่บางคนอาจคิดว่าไม่สำคัญ แต่มันสำคัญที่ใจ ถ้าหากต่างคนต่างให้ความเสมอภาคแล้ว ตาชั่งก็คงไม่เอียงใช่ไหม

N คือ NOTABLE การยกย่องให้อยู่ในสภาพที่ดี ถึงแม้คุณจะมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันแล้วก็ตาม คุณก็ควรจะยกย่องเธอหรือเขาให้อยู่ในสถานภาพที่ดีต่อบุคคลทั่วไป คือ เป็นการให้เกียรติยกย่องเธอหรือเขาต่อสังคม ว่าเป็นคนที่สวยเป็นคนที่ดี ไม่ว่าอยู่ต่อหน้า และลับหลัง มิใช่เอาไปนินทา เอาไปเผาต่อหน้าเพื่อนฝูงให้ไหม้เป็นจุณไป หรือพูดคุยตลกคะนอง ลับหลังเธอหรือเขาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ สู้ฉันไม่ได้ ฉันยอด คุณควรจะยกย่องเธอหรือเขา ในโอกาสที่ควร และในเวลาที่กำลังมีความรักอยู่ด้วยแล้วก็จะดียิ่งทีเดียว

T คือ TENDER ความรักใคร่ที่นุ่มนวล บรรจงเป็นห่วงเป็นใย Love me Tender คงจะบอกคุณได้หลายๆ อย่าง คุณควรจะทะนุถนอมเธอหรือเขาด้วยความรัก ความนุ่มนวล ความห่วงใย โทร.ไปสวัสดี Valentine ตั้งแต่ใครยังไม่โทร.ไปสวัสดีก่อน เพื่อให้เธอหรือเขาเห็นว่าคุณมีความห่วงใย ความปรารถนาดีแค่ไหน ไปฉลองด้วยกันต้องนุ่มนวลในบรรยากาศอย่างนั้น ดูซิ แสนจะสดชื่นกับความรักแค่ไหน

I คือ INNOVATION การทำความแปลกใหม่มาให้คู่รัก คนรักหรือชีวิตรัก มิใช่อยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้นมาตลอด ชอบกันอย่างไรก็ชอบกันมาอย่างนั้น เคยให้อะไรก็ให้อย่างนั้น คุณควรจะทำสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ มาสู่ชีวิตคุณและเธอหรือเขาด้วย การเปลี่ยนแปลงเป็นวิถีของชีวิต ดังนั้น คุณควรจะเปลี่ยนอะไรๆ บ้าง ในทางที่ดีนะ อย่างคุณจะหาอะไรในวัน Valentine ให้เธอเปลี่ยนจากดอกไม้ที่เป็นดอกกุหลาบมาเป็นผ้าตัดเสื้อลายกุหลาบ หรือผ้าเช็ดหน้าปักกุหลาบแดง หรือจี้เพชรรูปกุหลาบ เข็มกลัดกุหลาบก็ได้ ส่วนคุณที่จะมอบให้เขาอาจเป็นผ้าเช็ดหน้าปักกุหลาบ เข็มกลัดไทรูปกุหลาบ หรือแหวนรูปกุหลาบสำหรับใส่นิ้วก้อยสักวง ลองเปลี่ยนบ้างนะ

N คือ NEXUS การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้มีตลอดไปมิใช่วัน Valentine เท่านั้นที่คุณจะมอบกุหลาบให้เธอหรือเขา วันเกิด วันปีใหม่ วันครบรอบความรักที่เคยให้กันไว้ วันครบรอบวันแต่งงาน หรือวันสำคัญๆ ที่คุณให้ก็ได้ หรือบางวันก็ส่งช่อดอกไม้ไปให้เธอช่อใหญ่ๆ พร้อมกับคำขวัญสั้นๆ ว่า "รักคุณ" ให้คนในที่ทำงานหรือเพื่อนๆ อิจฉาเล่นก็ได้ เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ของคุณต่อเธอหรือเขาว่าคุณยังคิดถึง ยังรักอยู่นะ

E คือ ENDURANCE ความอดทน ความยืนยงสถาพร ความอดกลั้น ความเป็นอมตะ อยู่ชั่วกาลนานคุณจะต้องมีความอดทนต่อทุกๆ สิ่ง ถ้าหากคุณต้องเผชิญกับสิ่งนั้น อาจเป็นเวลาที่คุณจะต้องคอย คุณจะต้องยืนหยัดในความปรารถนาของคุณ คุณต้องอดกลั้นเมื่อคุณเผชิญต่อสิ่งที่คุณจะต้องโมโห หรืออารมณ์เสีย ต่อหน้าเธอหรือต่อหน้าเขา คุณควรประพฤติและปฏิบัติอย่างเป็นไปอย่างนั้นอย่างเสมอๆ มิใช่นานเกือบเดือนเพิ่งจะโทร.ไปหาหรือเขียนจดหมายมา หรือหายไปเป็นปีเพิ่งจะมาบอกว่า "รักคุณ"

คุณควรจะมีความรัก ความเมตตา ความปรานี ชีวิตของคุณจะสดใสดังกุหลาบแรกแย้มที่ต้องน้ำค้างของวันใหม่ทีเดียว

    วันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ 2550 นี้ เป็นวันที่จะมอบความรัก ความเมตตาให้แก่กันและกันหรือยัง เป็นความรักที่บริสุทธิ์จากใจ ซึ่งเกิดขึ้นได้ระหว่างพ่อ แม่ ลูก เพื่อนกับเพื่อน ผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา ฯลฯ

มิใช่เพียงการสื่อความหมายในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว

    การมอบกุหลาบหรือสิ่งของเป็นสื่อแทนความรู้สึกที่ดีต่อกัน ในความหมายของคำว่า Valentine หากใครยังไม่ปฏิบัติ ก็ปฏิบัติได้ในปีนี้ หรือในโอกาสที่สมควรก็ได้ เพื่อสังคมเราจะได้มีแต่ความรักความสุขและรอยยิ้ม

คงไม่สายที่เราจะเริ่มสร้างไมตรีในวันสำคัญนี้




ธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันในวันวาเลนไทน์

    หลายร้อยปีก่อนในประเทศอังกฤษ เด็กๆ จะแต่งตัวลอกเลียนแบบผู้ใหญ่ในวันวาเลนไทน์ แล้วร้องเพลงจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่ง ในเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจะกล่าวว่า " Good morning to you, Valentine ; Curl your locks as I do mine --- Two before and three behind. Good morning to you, Valentine."

    ใน ประเทศเวลส์ ผู้ที่มีความรักและชื่นชมในงานช้อนไม้แกะสลัก จะทำการแกะสลักช้อนและมอบให้เป็นของขวัญในวันวาเลนไทน์ โดยจะสลักรูปหัวใจ และลูกกุญแจไว้บนช้อนนั้น ซึ่งมีความหมายว่า "คุณได้ไขหัวใจของฉัน" (You unlock my heart)

    เด็ก หนุ่มสาวจะทำการเขียนชื่อคนที่ตัวเองชอบแล้วหย่อนไว้ในอ่างหรือชาม แล้วหยิบขึ้นมาหนึ่งชื่อเพื่อดูว่าใครจะเป็นคู่ของตัวเองในวันวาเลนไทน์ หลังจากนั้นก็จะเอาชื่อที่หยิบได้นี้มาติดไว้ที่แขนเสื้อเป็นเวลาหนึ่ง สัปดาห์ การทำเช่นนี้มีความหมายว่า คนๆ นั้นต้องการบอกคนทั่วไปรู้ได้ง่ายๆ ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร

    ใน บางประเทศ ผู้หญิงจะได้รับของขวัญเป็นเครื่องแต่งกายจากผู้ชาย แล้วถ้าผู้หญิงคนนั้นเก็บของขวัญชิ้นนี้เอาไว้นั่นหมายถึงหล่อนจะแต่งงานกับ เขา

    บาง คนมีความเชื่อว่า ถ้าผู้หญิงคนใดเห็นนกโรบินบินผ่านเหนือศรีษะตนเองในวันวาเลนไทน์ นั่นหมายถึงหล่อนจะได้แต่งงานกับกะลาสีเรือ หรือถ้าผู้หญิงคนใดเห็นนกกระจอก หล่อนก็จะได้แต่งงานกับชายยากจนและจะมีความสุข และถ้าผู้หญิงคนไหนเห็นนก Goldfinch หมายถึงหล่อนจะได้แต่งงานกับมหาเศรษฐี

    ใน บางประเทศจะมีการทำเก้าอี้แห่งรักขึ้นมา ซึ่งจะเป็นเก้าอี้ที่มีขนาดกว้าง ในครั้งแรกที่มีการทำเก้าอี้นี้ขึ้นมาก็เพื่อจะให้ผู้หญิงที่แต่งตัวในชุด ราตรีนั่ง ต่อมาเก้าอี้แห่งรักนี้ได้ทำขึ้นเป็นสองส่วนและมักจะทำเป็นรูปตัวเอส (S) ซึ่งการทำเก้าอี้ทรงนี้จะทำให้คู่รักสามารถนั่งด้วยกันได้ แต่จะไม่ใกล้ชิดกันจนเกินไป

    บาง ธรรมเนียมในบางแห่งของโลก เด็กหนุ่มสาวจะนึกถึงชื่อของคนที่ตัวเองอยากจะแต่งงานด้วยประมาณห้าถึงหก ชื่อ ในขณะที่ปอกเปลือกผลแอปเปิ้ลนั้นให้เป็นขดนั้น ก็ให้เอ่ยชื่อของคนที่นึกถึงออกมาจนกว่าจะปอกเปลือกแอปเปิ้ลได้หมดผล และเชื่อกันว่า คนที่จะได้แต่งงานด้วยนั้นคือคนที่เอ่ยชื่อถึงในขณะที่ปอกเปลือกของแอปเปิ้ล ได้หมดพอดี
ประวัติความเป็นมา
   วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่  16  มกราคม  พ.ศ. 2500  สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูใน
ราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคล
และให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา  โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็น
ในเรื่องนโยบายการศึกษา  และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ  จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว
ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร  ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
    ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี  คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศ
แถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา  พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมี
คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย  สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม"สามัคคยาจารย์"
หอประชุมของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย  ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา
    ปี พ.ศ. 2499  ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี  จอมพล ป.  พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการ
อำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์  ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจาก
ผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย  ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดา
ลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย  เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไป
ถ้าถึงวันตรุษ  วันสงกรานต์  เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ  ทำทาน  คนที่สองรองลงไปก็คือ
ครูผู้เสียสละทั้งหลาย  ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย  ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ
ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
    จากแนวความคิดนี้  กอรปกับคว่ทคอดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้องให้มี"วันครู"
เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ  ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติ
และประชาชนเป็นอันมาก  ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี
"วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป  โดยได้เสนอในหลักการว่า  เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณ
บูรพาจารย์  ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู  และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน
     ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่  21  พฤศจิกายน  2499  ให้วันที่  16  มกราคม  ของทุกปีเป็น"วันครู"
โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่  16  มกราคม  พ.ศ. 2488 เป็นวันครู
และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
     การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่  16  มกราคม  2500  ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติ
เป็นที่จัดงาน  งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ
หนังสือประวัติครู  หนังสือที่ระลึกวันครู  และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
     การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา  ในปัจจุบัน
ได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม  3  ประเภทใหญ่ดังนี้
     1.กิจกรรมทางศาสนา
     2.พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์  ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน  การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
     3.กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู  สา่วนมากจะเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริง

     ปัจจุบันการจัดงานวันครู  ได้กำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ  สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภา  โดยมี
คณะกรรมการจัดงานวันครูซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน  ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด
สำหรับส่วนภูมิภาคให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ  โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกันกับส่วนกลาง
จะรวมกันจัดที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
     รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง(หอประชุมคุรุสภา)  พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธานอำนวยการคุรุสภา  คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา  คณะกรรมการจัดงานวันครู  พร้อมด้วยครูอาจารย์
และประชาชนร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์  จำนวน 1,000  รูป  หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธี
ในหอประชุมคุรุสภา  นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน  ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์  นายกรัฐมนตรี
จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย  ประธานฝ่ายสงฆ์ให้ศีล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงาน
ต่อนายกรัฐมนตรี  เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครู"อาวุโส"นอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึก
ถึงพระคุณบูรพาจารย์  ดังนี้
                 ปาเจราจริยา  โหนติ  คุณุตตรานุสาสกา
(วสันตดิลกฉันท์) ประพันธ์ โดยพระวรเวทย์พิสิฐ(วรเวทย์   ศิวะศรียานนท์)

                    ข้าขอประนมกรกระพุ่ม
อภิวาทนาการ
          กราบคุณอดุลคุรุประทาน
หิตเทิดทวีสรร
                   สิ่งสมอุดมคติประพฤติ
นรยึดประคองธรรม์
          ครูชี้วิถีทุษอนันต์
อนุสาสน์ประภาษสอน
                   ให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน
นะตระการสถาพร
          ท่านแจ้งแสดงนิติบวร
ดนุยลอุบลสาร
                    โอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร
ทะนุศิษย์นิรันดร์กาล
          ไป่เบื่อก็เพื่อดรุณชาญ
ลุฉลาดประสาทสรรพ์
                    บาปบุญก็สุนทรแถลง
ธุระแจงประจักษ์แจ้งครัน
          เพื่อศิษย์สฤษดิ์คติจรัล
มนเทิดผดุงธรรม
                    ปวงข้าประดานิกรศิษย์
(ษ)ยะคิดระลึกคำ
          ด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ
อนุสรณ์เผดียงคุณ
                    โปรดอวยสุพิธพรเอนก
อดิเรกเพราะแรงบุญ
          ส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน
ทรศิษย์เสมอเทอญ ฯ

                   ปัญญาวุฒิกเรเตเต  ทินโนวาเท  นมามิหัง
          จากนั้นประธานจัดงานวันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบนิ่ง  1  นาที  เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว
  ครูอาวุโสประจำการนำผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวคำปฏิญาณดังนี้
               ข้อ 1.ข้าฯจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
               ข้อ 2.ข้าฯจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
               ข้อ 3.ข้าฯจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
          จบแล้วพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา  นายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี  มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและใน
ประจำการสุดท้ายกล่าวคำปราศัยและให้โอวาทแก่ครูที่มาประชุม
       จรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
 
            1.เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
             2.ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ  ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
             3.ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่  อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์  จะละทิ้งหรือทอดทิ้ง
                หน้าที่การงานไม่ได้
             4.รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใดๆอันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
             5.ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา  และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
                ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
             6.ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง  ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริต
                 หรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
             7.ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการโดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน  และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำ
                 ผลงานของผู้อื่นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน
             8.ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต  และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรม  ไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง
                 หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
             9.สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์  รักษาความลับของศิษย์  ของผู้ร่วมงานและสถานศึกษา
           10.รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน
                                                                      .............................................


พระราชดำรัส
                         "ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง  หันไปห่วงอำนาจ  ห่วงตำแหน่ง  ห่วงสิทธิ์  และห่วงรายได้กันมากเข้าๆ
                 แล้วจะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้  ความดี  ความเจริญของเด็ก  ความห่วงใยในสิ่งเหล่านั้นก็จะค่อยๆบั่นทอนทำลาย
                 ความเป็นครูไปจนหมดสิ้นจะไม่มีอะไรดีเหลือไว้ พอที่ตัวเองจะภาคภูมิใจหรือผูกใจใครไว้ได้   ความเป็นครูก็จะไม่มี
ี                 ค่าเหลืออยู่ให้เป็นที่ เคารพบูชาอีกต่อไป"
   
  พระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสเข้าเฝ้าฯ
ณ  พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันเสาร์ที่   21  ตุลาคม  2521
ประวัติวันปีใหม่
Your Vote Rating 8.6 from 122 users
จำนวนผู้เข้าชม 29868 ครั้ง
See All Comments






Dino-Lite กล้องจุลทรรศน์พกพา รางวัลยอดเยี่ยมโลก


ตามจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณ ถือเอาวันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย (เดือนหนึ่ง) เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับคติทางพระพุทธศาสนา ที่เริ่มฤดูหนาว (เหมันต์) เป็นจุดเริ่มต้นของปีต่อมา จารีตดังกล่าวได้แปรเปลี่ยนไปตามคติของพราหมณ์ ซึ่งใช้วันขึ้นหนึ่งค่ำเดือนห้าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นการนับวัน เดือน ปี แบบจันทรคติ คือการใช้การโคจรของดวงจันทร์เป็นเกณฑ์
ต่อมาเมื่อทางราชการเปลี่ยนมาใช้แบบสุริยคติ คือใช้ดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ จึงได้ถือเอา วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2432
วันขึ้นปีใหม่ของนานาอารยประเทศ ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นการนับตามสุริยคติ เมื่อประเทศไทยซึ่งเดิมใช้วันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย ของไทย เป็นวันขึ้นปีใหม่ นับว่าเป็นห้วงระยะเวลาใกล้เคียง กับวันที่ 1 มกราคม จึงเห็นว่าการที่ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นการเหมาะสมดังนี้
ตามทางดาราศาสตร์ การกำหนดอาศัยหลัก 2 ประการ คือ ใช้หลักวันที่ดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด ซึ่งจะตกประะมาณ วันที่ 22 ธันวาคม อีกประการหนึ่งใช้หลักวันที่ดวงอาทิตย์ อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากที่สุด ซึ่งจะตกประมาณวันที่ 20 มีนาคม ประเทศไทยเคยใช้หลักประการแรกมาก่อน คือใช้เดือนอ้าย แรมหนึ่งค่ำ ซึ่งใกล้เคียงกับวันที่ 22 ธันวาคม
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงอธิบายไว้เป็นใจความว่า ฤดูหนาวเป็นเวลาที่พ้นจากมืดฝน สว่างขึ้นเหมือนเวลาเช้า โบราณจึงถือเป็นต้นปี ฤดูร้อนเป็นเวลาสว่างเต็มที่เหมือนเวลากลางวัน โบราณจึงถือเป็นกลางปี ส่วนฤดูฝนเป็นห้วงเวลาที่มืดครื้ม เหมือนกลางคืน โบราณจึงถือเป็นปลายปี จึงได้เริ่มเดือนหนึ่งที่เดือนอ้าย และไทยโบราณถือการเริ่มข้างแรมเป็นต้นเดือน
มีผู้ค้นพบว่า คติที่นับวันใดวันหนึ่งในห้วงระยะเวลาระหว่างวันที่ 21 เดือนธันวาคม ถึงวันที่ 1 เดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่นี้ เป็นคติเก่าแก่ของชนชาติที่อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือสุวรรณภูมิ ด้วยเหตุผลที่พออธิบายได้ว่าในระยะเวลาดังกล่าวนี้ เป็นเวลาที่แลเห็นดวงอาทิตย์มีขนาดโตที่สุด และเป็นเวลาที่อากาศเริ่มเย็นสบาย หลังจากที่หมดฤดูฝนแล้ว ประเทศไทยเราอยู่ในย่านกลางของพื้นที่ดังกล่าว จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ชาติไทยเราได้มีวันขึ้นปีใหม่ตามคติดังกล่าวมาแต่โบราณกาล
จากการตรวจสอบในห้วงระยะเวลา 30 ปี จากปี พ.ศ. 2453 ถึงปี พ.ศ. 2483 พบว่าวันแรมหนึ่งค่ำ เดือนอ้าย เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติแล้วจะอยู่ในเดือนธันวาคม และส่วนใหญ่จะอยู่ห่างจากวันที่ 1 มกราคม ไม่เกิน 10 วัน ห่างกันมากที่สุด 30 วัน และห่างน้อยที่สุดเพียง 2 วัน เท่านั้น
อินเดียในสมัยโบราณก็ได้เคยใช้วันที่ 1 เดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่มาแล้ว เรียกว่ามกรสงกรานต์ การที่อินเดียในยุคต่อมาใช้เดือนจิตรมาส หรือเดือนเมษายน เป็นต้นปีนั้น มีที่มาจากฝ่ายเหนือของอินเดีย เพราะในพื้นที่บริเวณดังกล่าว เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ลมฟ้าอากาศดีที่สุด มติได้แผ่เข้ามายังชนชาวไทย โดยพราหมณ์นำเข้ามาอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ในครั้งนั้น สูงมากพอจนทำให้ไทยเราหันไปใช้ตามแบบ พราหมณ์ในหลาย ๆ เรื่อง รวมทั้งวันขึ้นปีใหม่ด้วย โดยนับเดือนห้าเป็นต้นปี ทำให้เราต้องขึ้นปีใหม่ 2 ครั้ง คือขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนห้า และวันสงกรานต์ ซึ่งจะเลื่อนไปมาในแต่ละปีไม่แน่นอน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงเห็นความลำบากในกรณีดังกล่าว เมื่อไทยต้องมีการติดต่อกับ ต่างประเทศมากขึ้น ดังนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2432 วันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนห้า ไปตรงกับวันที่ 1 เดือนเมษายน พอดี จึงได้มีประกาศบรมราชโองการ ให้ถือวันที่ 1 เดือนเมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยตั้งแต่นั้นมา
ประเทศไทยได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 เดือนมกราคม เมื่อปี พ.ศ. 2484 ด้วยเหตุผลทั้งมวลที่ได้กล่าวมาแล้ว และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ บรรดานานาประเทศ ได้ใช้วันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ ทำให้สมประโยชน์แก่ประเทศไทยด้วยประการทั้งปวง
 
ความหมายความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

ความเป็นมา
ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน

การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯเป็นครั้งแรก


การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆ มา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการจัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ

วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

กิจกรรม
วันที่ 1 มกราคมของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย